การสร้างจิตสำนึกให้ผู้ขับขี่
1. มีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง ถนนเป็นของสาธารณะที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อให้ทุกคนใช้ร่วมกัน ฉะนั้น คุณในฐานะผู้ขับขี่ คนหนึ่งควรแสดงน้ำใจต่อผู้ที่ใช้รถใช้ ถนนร่วมกับเราด้วย อาทิ ไม่จอดแช่เลนขวา ไม่ขับรถแซงคิวแทรกเข้าตรงเชิงสะพาน ลดความเร็วเมื่อเข้าเขตชุมชน (หมู่บ้าน/ตลาด/ โรงเรียน) ไม่จอดรถในที่ห้ามจอด หรือจอดรถกีดขวางการจราจร และที่สำคัญ ไม่ควรเร่งเครื่อง เมื่อเห็นว่ามีคนรอข้ามทางม้าลาย
2. ใช้ไฟสูงหรือไฟตัดหมอก เมื่อมีความจำเป็น ผู้ขับขี่ไม่ควรเปิดไฟสูงโดยไม่จำเป็น เนื่องจากแสงไฟจะไปรบกวนเพื่อนร่วมท้องถนน ส่วนช่วงเวลาที่ควรใช้ไฟสูงนั้น ควรเป็นตอน ที่ขับรถเข้าสู่ถนนหรือเส้นทางที่มีแสงสว่างไม่พอ ขณะที่ไฟตัดหมอกนั้น ควรเปิดใช้ในกรณีที่มีหมอกหรือฝนตกหนัก จนทำให้ทัศนะวิสัยในการมองเห็นของผู้ขับขี่ต่ำลงเท่านั้น แต่หากพลั้งเผลอเปิดไฟตัดหมอกโดยไม่จำเป็น แสงไฟอาจไปแยงตาผู้ขับขี่ที่ขับรถสวนเลนมา จนนำไปสู่อุบัติเหตุ เพราะแสงไฟตัดหมอก มีประสิทธิภาพความสว่างจากกว่าการเปิดไฟสูง
3. ไม่ควรเหยียบเบรกบ่อย เนื่องจากสภาพการจราจรที่คับคั่งในเมืองกรุง ประกอบกับปริมาณรถที่เพิ่มขึ้น ทำให้รถยนต์ต้องค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทีละนิด ส่งผลให้รถหลายครั้งต้องคอยแตะเบรกตลอด ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ ไม่ต่างไปจากปฏิกิริยาลูกโซ่ เพราะเมื่อรถคันหนึ่งเหยียบเบรก รถที่ ขับตามมาก็ต้องเหยียบเบรกด้วยเช่นกัน และพฤติกรรมเหยียบเบรกบ่อย ๆ ยังอาจทำให้ระบบเบรกของรถคุณเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ เป็นผลให้รถของคุณมีความเสี่ยงจะ เบรกแตก สูงตามไปด้วย
4. ไม่ควรขับรถจี้ท้ายรถคันหน้า การขับรถแบบจี้ท้ายคันหน้า เสี่ยงต่อการชนท้ายเป็นอย่างมาก และหากเกิดขึ้นผู้ที่ขับรถชนท้ายมักจะเป็นฝ่ายผิด ฉะนั้น คุณควร เว้นระยะห่างจากรถคันหน้าตามระยะเบรกที่ปลอดภัย โดย ระยะเบรกที่ปลอดภัย นั้น อาจพิจารณาตามสภาพแวดล้อมก็ได้ อาทิ คุณกำลังขับรถขึ้นดอยม่อนแจ่ม ที่เป็นเนินชัน และ มีจุดโค้งหักศอก ก็ควรทิ้งระยะห่างจากคันหน้าในระยะทางที่มากกว่าเดิม จากเว้นระยะ 20-30 เมตร ขยับมาเป็น 50-60 เมตร หรือ อาจมากกว่านั้น เพื่อป้องกันกรณีที่รถคันหน้าไหลถอยหลังมาชนคุณ
5. รู้จักขอบคุณและขอโทษเพื่อนร่วมทาง เมื่อเจอเพื่อนร่วมทางที่มีน้ำใจต่อเรา ไม่ว่าจะช่วยให้ทางหรือช่วยหรี่ไฟสูงลงมา ก็ควรแสดงความขอบคุณด้วยการโค้งศีรษะและ ยิ้มให้ หรือจะใช้วิธีเปิดไฟกระพริบฉุกเฉินก็ได้ ในทางกลับกัน เมื่อมีรถหยุดให้คุณเดินข้ามถนน ก็ควรโค้งศีรษะขอบคุณเช่นกัน แม้การแสดงความขอบคุณกับเพื่อนร่วมทางอาจดู เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็สามารถสร้างความรู้สึกดี ๆ บนท้องถนนได้ แล้วถ้าเป็นกรณีที่เราเผลอทำพฤติกรรมที่ไม่ดี อย่างเปลี่ยนเลนกะทันหัน ขับรถตัดหน้ารถคันอื่นล่ะ หากเป็นเช่นนั้น สิ่งที่ควรทำ เพื่อลดความตึงเครียดที่อาจนำไปสู่การทะเลาะวิวาท คือ การโค้งศีรษะ ยกมือ หรือเปิดไฟกระพริบ เพื่อขอโทษเพื่อนร่วมทาง แต่หาก บังเอิญรถของคุณติดฟิล์มดำมืดจนมองไม่เห็นว่า มีใครอยู่บนรถบ้าง ก็อาจใช้วิธีเปิดกระจกเพื่อขอบคุณหรือขอโทษก็ได้
6. เปิดไฟเลี้ยวทุกครั้ง เมื่อต้องการเปลี่ยนเลน ผู้ขับขี่ทุกคน ควรย้ำกับตัวเองบ่อย ๆ ว่า รถของเรามีไฟเลี้ยวที่สามารถเปิดใช้งานได้จริง ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือเปลี่ยนเลน ก็ต้องเปิดไฟเลี้ยวก่อนทุกครั้ง เพื่อให้รถคันอื่น ๆ ชะลอให้รถของคุณเข้าไปยังเส้นทางที่ต้องการ ไม่ใช่ใจนึกอยากจะไปก็ไปได้ทันที นอกจากเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุแล้วคุณจะยังได้เสียงก่นด่าไปถึงบรรพบุรุษตามหลังมาแน่ ๆ
7. ไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด อย่าลักไก่กลับรถในที่ห้ามกลับรถ หรือเบี่ยงจากช่องทางหลักเข้าช่องคู่ขนาน ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า จุดดังกล่าวมีเครื่องหมายจราจรระบุให้ รถที่วิ่งในช่องคู่ขนานสามารถ เบี่ยงเข้าช่องทางหลักเท่านั้น พฤติกรรมชอบฝ่าฝืนกฎจราจรเหล่านี้นอกจากสร้างความสงสัยกับเพื่อนร่วมทางว่า คุณซื้อใบขับขี่ มาหรืออย่างไร ? ยังเสี่ยงเกิด อุบัติเหตุ และหากเกิดเหตุขึ้นจริง นอกจากเจ็บตัว รถพัง เจอทั้งโทษจำคุกหรือปรับ และถ้าร้ายแรงมาก ก็อาจถึงขั้นเสียชีวิต (อาจเป็น คุณ/คู่กรณี) ได้
8. เมาแล้วขับ เมาแล้วขับ เป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่จะนำพาเรื่องเลวร้ายชนิดคาดไม่ถึงมาสู่ตัวคุณ ครอบครัว และเพื่อนร่วมทางได้ง่ายดายที่สุด ดังนั้นหากรู้ตัวว่า เมา ก็ควรใช้บริการรถสาธารณะในการเดินทาง หรือคุณจะโทรให้คนที่ไว้ใจมารับแทนการขับรถเองก็ได้
9. เล่นโทรศัพท์มือถือขณะขับรถ รู้หรือไม่ว่า การเล่นโทรศัพท์มือถือขณะขับรถ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ติดไฟแดง หรือรถติดเพราะมีอุบัติเหตุกีดขวางการจราจร ล้วน เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุทั้งสิ้น เนื่องจากสมาธิที่ควรเพ่งอยู่กับการขับรถ ถูกย้ายไปอยู่กับโทรศัพท์มือถือแทน บางคนอาจคิดว่า ทำแบบนี้อยู่บ่อย ๆ ไม่เห็นเป็นอะไรเลย หรือ รถติดแบบนี้ ใคร ๆ ก็หยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาเล่นทั้งนั้น หากคุณกำลังคิดเช่นนี้ ขอเตือนเลยว่า คุณกำลังประมาทอย่างแรง เพราะขนาดผู้ที่มีประสบการณ์ขับรถมานับ 10 ปี ก็ยังประสบอุบัติเหตุ ได้เลย ที่สำคัญคุณอาจลืมไปว่า ต่อให้คุณระมัดระวังเพียงใด ก็ไม่ได้รับประกันว่า เพื่อนร่วมทางของคุณจะขับรถอย่างระมัดระวังเช่นกัน ฉะนั้น เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ คุณควรงดเล่นโทรศัพท์มือถือ แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้งานโทรศัพท์มือถือจริง ๆ ก็ให้หาจุดที่ ปลอดภัยเพื่อจอดรถเสียก่อน
10. ขับรถคร่อมเลน คือ การขับรถคร่อมเลนกินพื้นที่จราจร จะไปซ้าย ก็ไม่ซ้าย จะไปขวา ก็ไม่ขวา พฤติกรรมแบบนี้ ไม่น่ารอดจากการโดนด่า หรือไป รบกวนการขับของรถคันอื่น ดังนั้น ทุกครั้งที่เข้าไปนั่งอยู่หลังพวงมาลัย ขอให้คุณใส่ใจความปลอดภัยของตัวเองและเพื่อนร่วมทางให้มาก ๆ เพราะไม่ว่าใครก็มี คนที่รักรออยู่ที่บ้านทั้งนั้น
ข่าว ณ. วันที่ 3 พ.ย. 2566 เวลา 15.44 น. โดย คุณ รัชดาภรณ์ เรืองรินทร์
ผู้เข้าชม 66 ท่าน |